ความหมายของความสำเร็จโครงการมักจะประกอบด้วย การสร้างผลกำไร โครงการแล้วเสร็จตามกำหนด และได้ผลให้โครงการเป็นเช่นนั้นมีมากมาย สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือผลการทำงาน (Performance) ของบุคลากร ตั้งแต่ ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) วิศวกรโครงการ (Project Engineer) ผู้ควบคุมงาน (Supervisor) คนงาน (Workers) ฯลฯ ซึ่งผลการทำงานของคนเหล่านั้น ย่อมขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ความต้องการของบุคคล แรงจูงใจด้านบวก (Motivators) และแรงจูงใจด้านลบ (Demotivators) ความสำคัญของแรงจูงใจที่มีต่อผลการทำงานากถูกมองข้ามไป หรือไม่ก็ถูกคาดคิดไปว่าแรงจูงใจของแต่ละบุคคลในการทำงานจะเหมือนกัน
บทความนี้ แสดงและวิเคาะห์ข้อมูลเกี่ยวกับแรงจูงใจทั้งด้านบวก และด้านลบของบุคคลากรระดับ ผู้ควบคุมงาน และคนงานในงานก่อสร้าง เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารงานก่อสร้างโดยเฉพาะ จากการศึกษาพบว่า แรงจูงใจด้านบวกในการทำงานที่สำคัญต่อผู้ควบคุมงาน และคนงานสามารถแสดงได้ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 1
- ค่าตอบแทน | 1 | 1 |
- ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน | 2 | 5 |
- ความปลอดภัยในการทำงาน | 3 | 3 |
- ความมั่นคงในการทำงาน | 4 | 2 |
- การควบคุมที่ดี (ลดการแก้ไขวิธีการทำงาน) | 5 | 9 |
- การแจ้งข่าว - ปฐมนิเทศที่ดี | 6 | 8 |
- การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ | 7 | 6 |
- การได้คำชมเชยและเป็นที่ยอมรับ | 8 | 4 |
- งานที่ท้าท้าย | 9 | 7 |
ตารางทั้งสองข้างต้น แสดงถึงความสำคัญของแรงจูงใจทั้งในด้านบวก และลบในความเห็นของผู้ควบคุมและคนงาน ซึ่งโดยรวมพบว่าแรงจูงใจด้านบวกค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือลำดับความสำคัญที่แตกต่างกันของแรงจูงใจ ด้านลบระหว่างผู้ควบคุมงานและคนงาน เช่นในตารางที่ 2 คนงานเห็นว่า ความไม่มีประสิทธิภาพของผู้ร่วมงาน จะทำให้เขาเกิดความท้อ ในการทำงาน คือเกิดแรงจูงใจด้านลบ มีผลสูงเป็นอันดับที่ 4 ในขณะที่ผู้ควบคุมงานให้ความสำคัญเป็นอันดับที่ 10 ในทางกลับกันผู้ควบคุมงานจะเห็นว่าความไม่สนใจในผลิตภาพ (Productivity) ของผู้ร่วมงานจะทำให้เขาลดแรงจูงใจการทำงานลงมากเป็นลำดับที่ 2 แต่คนงานเห็นว่าจะลดแรงจูงใจการทำงานเป็นอันดับที่ 8
ตารางที่ 2- การปฏิบัติที่ไม่ดีจากผู้บังคับบัญชา | 1 | 1 |
- ความไม่ปลอดภัยในการทำงาน | 2 | 5 |
- การขาดคำชมเชยและไม่เป็นที่ยอมรับ | 3 | 3 |
- ความไม่มีประสิทธิภาพผู้ร่วมงาน | 4 | 10 |
- การทำงานช้า | 5 | 4 |
- การขาดการสื่อสารที่ดี | 6 | 6 |
- การตรวจและทดสอบที่ไม่ดี | 7 | 8 |
- ความไม่สนใจในผลิตภาพ (Productivity) | 8 | 2 |
- การใช้ความเชี่ยวชาญที่น้อยไป | 9 | 9 |
- การขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ | 10 | 7 |
นอกจากนี้ ในตารางที่ 1 จะพบว่าคนงานมองว่าการที่ได้รับคำชมเชย และเป็นที่ยอมรับไม่ใช่แรงจูงใจในด้านบวกที่สูงนัก (ลำดับที่ 8) แต่ถ้าหากขาดสิ่งเหล่านั้น จะกลับเกิดแรงจูงใจด้านลบที่สูงมาก (ลำดับที่ 3) ดังแสดงในตารางที่ 2 ซึ่งหมายความว่า แรงจูงใจชนิดเดียวกัน ถ้ามีอยู่แล้ว ก็อาจไม่มีผลต่อการทำให้ผลการทำงานดีขึ้น แต่หากขาดไปก็สามารถส่งผล ลบต่องานได้มากตัวอย่างอื่น ๆ ในกรณีนี้ ได้แก่ การจัดเวลาหยุดพัก (Break) หรือการจัดจุดดื่มน้ำที่หน่วยงานให้คนงาน เป็นต้น
ผู้จัดการโครงการ และวิศวกรโครงการควรจะทราบและทำความเข้าใจว่าแรงจูงใจ ที่จะส่งผลให้บุคลากรมีความกระตือรื้อร้นในการทำงานหรือรู้สึกท้อถอย ย่อมแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นฐานรู้สึกท้อถอย ย่อมแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นฐานบุคคล และพื้นฐานตำแหน่งงาน มิใช่จะเหมือนกันหมดทุก ดังนั้น ผู้จัดการโครงการและวิศวกรโครงการ จึงควรทราบถึงความแตกต่างเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจูงใจบุคลากรให้ร่วมมือในการทำงาน ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดรวมทั้งหาแนวทางขจัดหรือลดแรงจูงใจด้านลบของบุคลากรต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
โดย เอกสตีล คลอง 8 จำหน่าย เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส มุมหาช่าง หาช่าง
ความคิดเห็น