โครงสร้างทางกฎหมาย สหรัฐอเมริกา ด้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมทางไซเบอร์
บรรดากฎหมายต่างๆของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับ การสืบสวนและดำเนินคดีกับบุคคล ซึ่งได้กระทำ การก่อการร้ายและอาชญากรรมทางไซเบอร์ ที่น่าสนใจมีดังนี้
Title 18, USC 1029
กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18, USC 1029, Fraud and Related Activity in Connection with Access Devices ว่าด้วยการฉ้อฉลและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับกลไกการเข้าถึง [ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต]
- กฎหมายนี้ครอบคลุม การดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งลักลอบค้า รหัสหรือ หมายเลขบัตรเครดิต ทางอินเทอร์เน็ต
- กฎหมายนี้ครอบคลุม การดำเนินคดีบุคคลซึ่งใช้ซอฟท์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ ในการผลิต หรือแพร่กระจาย รหัสหรือหมายเลขบัตรเครดิต
Title 18, USC 1029 Penalties (บทลงโทษ)
Title 18, USC 1030
กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18, USC 1030, Fraud and Related Activity in Connection with Computers ว่าด้วยการฉ้อฉลและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์
- กฎหมายนี้ใช้ดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งจงใจบุกเข้าไปในคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในการปกป้องของรัฐบาลสหรัฐฯ U.S. protected computer
- คอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในการปกป้องของรัฐบาลสหรัฐฯ หมายถึงคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล รวมทั้งคอมพิวเตอร์ซึ่งได้ถูกระบุไว้โดยรัฐบาลว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์ระหว่างมลรัฐ
- จะต้องเป็นกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายที่เกินกว่าจำนวนเงิน $5,000 หรือ ก่อให้เกิดผลร้ายต่อความปลอดภัยของมหาชน/ความมั่นคงของชาติ
- อีกทั้งกฎหมายนี้จะครอบคลุมการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งจงใจปล่อยไวรัส หรือ หนอน worms เข้าไปในคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อก่อให้เกิดความเสียหาย
Title 18, USC 1030 Penalties (บทลงโทษ)
Title 18, USC 1362
กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18, USC 1362, Communications Lines, Stations, or Systems. ว่าด้วยสายเคเบิ้ล, สถานี หรือ ระบบในการสื่อสาร
- กฎหมายนี้ใช้ในการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่ง จงใจสร้างผลร้าย หรือทำลายระบบการสื่อสารคมนาคม
- อีกทั้งกฎหมายนี้อาจใช้ในการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่ง วางแผนที่จะดำเนินการละเมิดกฎหมายดังกล่าวนี้
Title 18, USC 1362 Penalties (บทลงโทษ)
- บุคคลซึ่งถูกตัดสินว่าได้ละเมิดกฎหมาย มาตราที่ 1362 อาจถูกลงโทษจำคุก 10 ปี สำหรับการทำความผิดครั้งแรก
Title 18, USC 2511
กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18 USC 2511, Interception and Disclosure of Wire, Oral, or Electronic Communications. ว่าด้วยการดักเอาและเปิดเผยการสื่อสารโดยทางสาย, ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางเสียง หรือข้อความ แบบอิเล็กทรอนิกส์
- กฎหมายนี้ใช้ในการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งจงใจดักจับการสื่อสารโดยทางสาย ทั้งที่เป็นการสื่อสารแบบเสียงและแบบอิเล็กทรอนิกส์
- อีกทั้งกฎหมายนี้ สามารถใช้ดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งใช้เครื่องมือใดๆเพื่อดักเอาการสื่อสาร
Title 18, USC 2511 Penalties (บทลงโทษ)
- บุคคลซึ่งถูกตัดสินว่าได้ละเมิดกฎหมาย มาตราที่ 2511 อาจถูกลงโทษจำคุก 5 ปี สำหรับการทำความผิดครั้งแรก
Title 18, USC 2701
- กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18, USC 2701, Unlawful Access to Stored Communication. ว่าด้วยการเข้าถึง โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลักลอบเอาการสื่อสารที่ได้ถูกเก็บไว้
- กฎหมายนี้ใช้ในการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งจงใจเข้าไปในที่ใดซึ่งเป็น ศูนย์ให้บริการและเก็บการสื่อสาร โดยไม่ได้รับอนุญาต
Title 18, USC 2701 Penalties (บทลงโทษ)
- บุคคลซึ่งถูกตัดสินว่าได้ละเมิดกฎหมาย มาตราที่ 2701 อาจถูกลงโทษจำคุก 2 ปี สำหรับการทำความผิดครั้งแรก
Title 18, USC 2702
กฎหมายของสหรัฐฯ Title 18, USC 2702, Disclosure of Contents ว่าด้วยการเปิดเผยเนื้อหา
- กฎหมายนี้ใช้ในการดำเนินคดีกับบุคคลซึ่งจงใจ เปิดเผยหรือแฉการสื่อสารหรือข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้มีการเก็บไว้ ณ ที่ใด
- กฎหมายนี้เป็นการให้อำนาจในการดำเนินคดีแก่บุคคลซึ่ง มอบข้อมูลให้แก่ผู้รับคนใดที่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีข้อมูลนั้นไว้ในครอบครอง
Patriot Act รัฐบัญญัติว่าด้วยความรักชาติ
- รัฐบัญญัตินี้ ได้ผ่านออกมา โดยนัยหนึ่งเป็นการตอบโต้การโจมตีโดยผู้ก่อการร้าย ถล่มอาคารเวิลด์เทรด ในกรุงนิวยอร์ค และอาคารเพนตากอน ในกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001
Patriot Act รัฐบัญญัติว่าด้วยความรักชาติ
- รัฐบัญญัตินี้ เป็นการเสริมกฎหมายที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยการขยายและเพิ่มโทษสำหรับอาชญากรรมซึ่งกระทำโดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
- รัฐบัญญัติฉบับนี้ มีบทเฉพาะซึ่งว่าด้วยการก่อการร้ายโดยทางไซเบอร์
- รัฐบาลสหรัฐฯจะต้องขยายขีดความสามารถทางด้านการพิสูจน์หลักฐานคดีแบบไซเบอร์
Patriot Act บัญญัติว่าด้วยความรักชาติ
รัฐบัญญัติปี 2002 ของสหรัฐฯ ว่าด้วยความรักชาติ United States Patriot Act of 2002.
รัฐบัญญัตินี้ ให้อำนาจในการที่จะ :
- ดักฟังการสื่อสารในรูปแบบเสียงทางอินเทอร์เน็ต
- ขยายคำจำกัดความของคำว่า คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความคุ้มครอง “Protected Computer” ให้รวมถึงคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศด้วย
- เพื่อชี้ให้เห็นถึงการขึ้นต่อกันและกัน ในบรรดาคอมพิวเตอร์ ทั้งหมดที่อยู่ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โครงสร้างทางกฎหมายระหว่างประเทศ
- ปัญหาสำคัญในการสืบสวนอาชญากรรมและการก่อการร้ายโดยทางไซเบอร์ คือการขาดโครงสร้างทางกฎหมายที่มิได้มีการกำหนดไว้รองรับ
- ปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล และ การขาดกฎหมายที่จะครอบคลุมเรื่องนี้ในบางประเทศ ทำให้เป็นงานยากอย่างยิ่งในการดำเนินงานสืบสวนข้ามพรมแดน
- อาชญากรและผู้ก่อการร้ายประเภทไซเบอร์ อาศัยความได้เปรียบจากช่องว่างนี้
- คนร้ายสามารถ“โดดข้าม”จากระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง ในหลายประเทศซึ่งไม่มีกฎหมายที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาหรือรับมือกับอาชญากรรมและการก่อการร้ายโดยทางไซเบอร์
สรุป
- สหรัฐฯได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีตว่า ในการที่จะป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และการก่อการร้าย โดยทางไซเบอร์ จะต้องสร้างกฎหมายซึ่ง พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งมีเข้ามาในวงการนี้อยู่เสมออย่างต่อเนื่อง
- การต่อต้านการก่อการร้าย โดยทางไซเบอร์ ที่จะมีประสิทธิผล จะต้องมีโครงสร้างทางกฎหมาย ซึ่งจะให้อำนาจและเครื่องมือแก่พนักงานสืบสวนสอบสวน และอัยการ สามารถอาศัยอำนาจทางกฎหมายที่จะใช้ในการสู้การก่อการร้าย
- โครงสร้างทางกฎหมาย จะเปิดโอกาสให้บรรดาประเทศต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและกัน ได้อย่างรวดเร็วในเรื่องที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
police.go.th
ความคิดเห็น