สเตนเลส หรือตามศัพท์บัญญัติเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นเหล็กที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ(น้อยกว่า 2%)ของน้ำหนัก มีส่วนผสมของโครเมียม อย่างน้อย 10.5% กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.1903 เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่า การเติมนิเกิล โมบิดินัม ไททาเนียม ไนโอเนียม หรือโลหะอื่นแตกต่างกันไปตามชนิด ของคุณสมบัติเชิงกล และการใช้ลงในเหล็กกล้าธรรมดา ทำให้เหล็กกล้ามีความต้านทานการเกิดสนิมได้
ประเภทของสแตนเลส
แบ่งได้ 5 ชนิดหลัก
เกรด ออสเตนิติก (Austenitic) แม่เหล็ดดูดไม่ติด นอกจากส่วนผสมของโครเมียม 18%แล้ว ยังมีนิเกิลที่ช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนอีกด้วย ชนิดออสเตนิติกเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางมากที่สุด ในบรรดาสเตนเลสด้วยกัน ส่วนออสเตนิติกที่มีโครเมียมผสมอยู่สูง 20% ถึง 25% และนิกเกิล 1%ถึง 20% จะสามารถทนการเกิดออกซิไดซ์ได้ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งใช้ในส่วนประกอบของเตาหลอม ท่อนำความร้อน และแผ่นกันความาร้อนในเครื่องยนต์ จะเรียกว่า เหล็กกล้าไร้สนิม ชนิดทนความร้อน (Heat Resisting Steel)
เกรดเฟอร์ริติก (Ferritic) แม่เหล็กดูดติด มีส่วนผสมของคาร์บอนต่ำ และมีโครเมียมเป็นส่วนผสมหลัก คือประมาณ 13% หรือ 17%
เกรดมาร์เทนซิติก (Martensitic) แม่เหล็กดูดติด โดยทั่วไปจะมีโครเมียมผสมอยู่ 12%และมีส่วนผสมของคาร์บอนในระดับปานกลาง มักนำไปใช้ทำส้อม มีด เครื่องมือตัด และเครื่องมือวิศวกรอื่นๆ ซึ่งต้องการคุณสมบัติเด่นในด้าน การต้านทานการสึกกร่อน และ ความแข็งแรงทนทาน
เกรดดูเพล็กซ์ (Duplex) แม่เหล็กดูดติด มีโครงสร้างผสมระหว่างเฟอร์ไรต์และออสเตไนต์ มีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 18-28% และนิเกิล 4.5-8% เหล็กชนิดนี้มักถูกนำไปใช้งานที่มีคลอรีนสูงเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion) และช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อน ที่เป็นรอยร้าวอันเนื่องมาจากแรงกดดัน (Stress corrosion cracking resistance)
เหล็กกล้าชุบแข็งแบบตกผลึก (Precipitation Hardening Steel) มีโครเมียมผสมอยู่ 17 % และมีนิเกิล ทองแดง และไนโอเบียมผสมอยู่ด้วย เนื่องจากเหล็กชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั้ม หัววาล์ว และส่วนประกอบของอากาศยาน สเตนเลส สตีล ที่นิยมใช้ทั่วไปคือ ออสเตนิก และเฟอร์ริติก ซึ่งคิดเป็น 95%ของเหล็กกล้าไร้สนิม ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน
แต่ถ้าแบ่งย่อยก็จะได้มากกว่า 50 ชนิด
สแตนเลสสตีลไม่ใช่อัลลอยล์เพียงอย่างเดียว แต่ถูกจัดอยู่ในชนิดของเหล็ก อัลลอยล์จะมีส่วนประกอบเป็นโครเมี่ยมอย่างน้อย 10.5% ส่วนประกอบอื่นๆได้ถูกผสมเพิ่มขึ้นมาเพื่อเพิ่มการป้องกันการเกิดสนิมและการเกิดความร้อนได้ดีขึ้น เพิ่มคุณสมบัติทางกลไกและส่วนผสมใหม่ๆเข้าไป ดังนั้นสแตนเลสจึงมีมากกว่า 50 ชนิด โดยถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร the American Iron and Steel Institute(AISI) การแยกชนิดของสแตนเลสโดยทั่วไปแล้วมีอยู่ 3 ข้อคือ
- ส่วนประกอบทางเทคนิคของโลหะ
- ระบบเรียงลำดับของ AISI
- การจัดกลุ่มเดียวกันของระบบเรียงลำดับ ได้ถูกพัฒนาโดยองค์กรของอเมริกาที่ทำหน้าที่ทดสอบแร่ธาตุ(ASTM)และองค์กรยานยนต์วิศวกรรม โดยจะกำหนดตัวเลขให้กับโลหะและอัลลอยล์ทุกชนิด
เบอร์ 304 เป็นสแตนเลสสตีลพื้นฐานที่ใช้ในการตกแต่งเพื่อความสวยงาม ชนิดนี้ง่ายต่อการขึ้นรูปและป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี
เบอร์ 304L เป็นสแตนเลสสตีลเบอร์ 304 ที่ใช้คาร์บอนเป็นส่วนประกอบน้อยลงมา ใช้ในงานการเชื่อมอย่างกว้างขวาง
เบอร์ 316 ถูกออกแบบให้มาป้องกันการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี ถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมหนักและสถานที่ใกล้ทะเล
เบอร์ 316L เป็นสแตนเลสสตีลเบอร์ 316 ที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนน้อยลงมา
เบอร์ 430 เป็นสแตนเลสสตีลที่ใช้โครเมี่ยมเป็นส่วนประกอบ 100% และมีโอกาสเกิดสนิมน้อยกว่าเบอร์300 พวกนี้นิยมใช้ตกแต่งภายใน
ดูลักษณะภายนอกของสแตนเลสแล้วเกือบทุกเกรดล้วนคล้ายคลึงทั้งนี้แล้วยังมีสแตนเลสเกรดต่ำที่มีโอกาสของการขึ้นสนิมได้สูงอีกเช่นสแตนเลสเบอร์201เป็นต้น ดังนั้นควรที่จะเลือกซื้กับร้านค้าที่ไว้วางใจได้นะครับ
คุณสมบัติทั่วไป และ คุณสมบัติทางกายภาพ
คุณสมบัติทางกายภาพของสเตนเลส เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุประเภทอื่น ค่าที่แสดงในตารางที่1 เป็นเพียงค่าประมาณ เนื่องจากการเปรียบเทียบทำได้ยาก ค่าความหนาแน่นสูงของสเตนเลสแตกต่างจากวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ในส่วนของคุณสมบัติเกี่ยวกับความร้อนความสามารถ ทนความร้อนของสเตนเลส มีข้อสังเกต 3 ประการคือ
1. การที่มีจุดหลอมเหลวสูง ทำให้มีอัตราความคืบดี เมื่อเทียบกับเซรามิกที่อุณหภูมิต่ำกว่า 1000 องศา C
2. การที่มีค่านำความร้อนระดับปานกลาง ทำให้สเตนเลสเหมาะที่จะใช้ในงานที่ต้องทนความร้อน (คอนเทนเนอร์) หรือต้องการคุณสมบัตินำความร้อนได้ดี (เครื่องถ่ายความร้อน)
3. การมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวระดับปานกลาง จึงสามารถใช้ความยาวมากๆได้ โดยใช้ตัวเชื่อมน้อย (เช่น ในการทำหลังคา)
คุณสมบัติ เชิงกล
สเตนเลสโดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของเหล็กประมาณ 70-80% จึงทำให้มีคุณสมบัติของเหล็กที่สำคัญ 2 ประการคือ ความแข็งและความแกร่ง ในตารางที่ 2นี้ เป็นการเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงกลกับวัสดุชนิดอื่น จะเห็นได้ว่าพลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมีความแข็งแรง และโมดูลัส ความยืดหยุ่นต่ำ ส่วนเซรามิกมีความแข็งแรงและความเหนียวสูงแต่มีความแกร่งหรือความสามารถรับแรงกระแทกโดยไม่แตกหักต่ำ สเตนเลสให้ค่า ที่เป็นกลางของทั้งความแข็ง ความแกร่ง และความเหนียว เรนื่องจากมีส่วนผสมของธาตุเหล็กอยุ่มาก และจะมีเพิ่มขึ้นอีกในชนิดออสเตนิติก และตารางที่ 3 จะแสดงให้เห็นค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strength) ของสเตนเลส ไม่ว่าจะชนิดที่อ่อนตัวง่าย ซึ่งสามารถทำให้ขึ้นรูปเย็นได้ดี เช่น การขึ้นรูปลึก (Deep Drawing) จนถึงชนิดความแข็งแรงสูงสุด ซึ่งได้จากการขึ้นรูปเย็นหรือการทำให้เย็นตัวโดยเร็ว (Quenching) หรือชนิดชุบแข็ง แบบตกผลึก (Preciptation Hardening) ซึ่งเหมาะใช้ทำสปริง
คุณสมบัติของ สแตนเลส
สเตนเลสต่างชนิดกันที่มีโครงสร้างต่างกัน จะมีลักษณะค่าความแข็งแรงที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันดังในรูปจะแสดงให้เห็น แนวโค้งของค่าความแข็งแรง โดยทั่วไปของเกรดสเตนเลส 4ชนิด
1. เกรดมาร์เทนซิติก มีค่าความจำนนความแข็งแรง (Yield Strength : YS) และค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strenght : UTS) สูงมากในสภาพที่ผ่านกระบวนการอบชุบ แต่จะมีค่าการยืดตัว (Elongation : EL %) ต่ำ
2. เกรดเฟอร์ริติก มีค่าความจำนนความแข็งแรง และค่าความแข็งแรงสูงสุดปานกลาง เมื่อรวมกับค่าความยืดตัวสูง จึงทำให้สามารถขึ้นรูปได้ดี
3. เกรดออสเตนิติก มีค่าความจำนนความแข็งแรงใกล้เคียงกับชนิดเฟอร์ริติก แต่มีค่าความแข็งแรงสูงสุดและความยืดตัวสูง จึงสามารถขึ้นรูปได้ดีมาก
4. เกรดดูเพล็กซ์ (ออสเตไนท์ - เฟอร์ไรต์) มีค่าความจำนนความแข็งแรง และค่าความยืดตัวสูงจึงเรียกได้ว่า เหล็กชนิดนี้มีทั้งความแข็งแรง และความเหนียว (Ductility) ที่สูงเป็นเลิศ
ความต้านทานการกัดกร่อน
เหตุใด? สเตนเลสจึงทนต่อการกัดกร่อนได้ โลหะทุกชนิดทั่วไปจะทำปฎิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นฟิล์มออกไซต์บนผิวโลหะ หรือออกไซต์ ที่เกิดบนผิวเหล็กทั่วไป จะทำปฎิกิริยาออกซิไดซ์ และทำให้เกิดสภาพพื้นผิวเหล็กผุกร่อน ที่เราเรียกว่า เป็นสนิม แต่สเตนเลสมีโครเมียมผสมอยู่ 10.5% ขึ้นไป ทำให้คุณสมบัติของฟิล์มออกไซต์บนพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นฟิล์มปกป้อง หรือพลาสซิฟเลเยอร์ (Passive Layer) ที่เหมือนเกราะป้องกัน การกัดกร่อน ซึ่งปรากฎการณ์นี้เรียกว่า พาสซิวิตี้ (Passivity) ฟิล์มปกป้องนี้จะมีขนาดบางมาก (สำหรับแผ่นสเตนเลสบางขนาด 1 มม. ฟิล์มหรือพาสซีฟ เลเยอร์นี้ จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่น บนตึกสูง 20 ชั้น) และมองตาเปล่าไม่เห็นฟิล์มนี้จะเกาะติดแน่น และทำหน้าที่ปกป้องสเตนเลส จากการกัดกร่อนทั้งมวล หากนำไปผลิตแปรรูปหรือใช้งานในสภาพเหมาะสม เมื่อเกิดมีการขีดข่วน ฟิล์มปกป้องนี้จะสร้างขึ้นใหม่ได้เองตลอดเวลา (ดังรูป)
ความคงทนของพาสซีสเลเยอร์ เป็นปัจจัยหลักของความต้านทานการกัดกร่อนของสเตนเลส นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับสภาพการกัดกร่อนอันได้แก่ ความรุนแรง ของปฏิกิริยาออกซิไดซ์ ความเป็นกรดปริมาณสารละลายคลอไรต์ และอุณหภูมิ โดยทั่วไปแล้วการเพิ่มปริมาณ โครเมียมจะช่วยเพิ่มความ ต้านทาน การกัดกร่อนของสเตนเลส การเติมนิเกิลจะช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนโดยทั่วไป ให้ทนสภาวะกัดกร่อนรุนแรงได้ ส่วนโมลิบดินัมจะช่วยเพิ่ม ความต้านทานการกัดกร่อนเฉพาะที่ เช่น การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting Corrosion)
ในทางปฏิบัติ สเตนเลสชนิดเฟอร์ริติก มีการใช้งานจำกัดในสภาพการกัดกร่อนปานกลางและในสภาพชนบท ทั้งชนิดเฟอร์ริติกและออสเตนิติก สามารถใช้ทำ อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนได้แต่เนื่องจากชนิดออสเตนิติกสามารถทนการกัดกร่อนได้ดี และทำความสะอาดง่าย จึงนิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม นอกจากนี้ชนิดออสเตนิติกยังทนการกัดกร่อนจากสารเคมีหลายประเภทได้แก่ กรด, อัลคาลายด์ เป็นต้น ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมเคมี และกระบวนการผลิตต่าง ๆ
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไป
ของฟอสฟอรัสและไนตริก
การขัดด้วยลวด, การใช้ผงขัด
คราบสกปรก
|
วิธีการทำความสะอาด
|
รอยนิ้วมือ
|
ล้างด้วยสบู่ ผงซักฟอก หรือสารละลาย เช่น แอลกอฮอล์ หรืออาเซโทน ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง
|
น้ำมัน คราบน้ำมัน
|
ล้างด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอน / ออร์กานิก (เช่น แอลกอฮอล์) แล้วล้างออกด้วยสบู่ /ผงซักฟอกอย่างอ่อน และน้ำ ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง แนะนำให้จุ่มชิ้นงานให้โชกก่อนล้างในน้ำสบู่อุ่น ๆ
|
สี
|
ล้างออกด้วยสารละลายสี ใช้แปลงไนล่อนนุ่ม ๆ ขัดออก แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็คให้แห้ง
|
Carbob Deposit or Bked-on
|
จุ่มลงในน้ำ ใช้สารละลายที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้ง
|
เปลี่ยนสีเนื่องจากความร้อน
|
ทาครีม (เช่น บรัสโซ) ลงบนแผ่นขัดที่ไม่ได้ทำจากเหล็ก แล้วขัดคราบที่ติดบนสเตนเลสออก ความร้อนขัดไปในทิศทางเดียวกันกับพื้นผิว ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง
|
ป้ายและ
สติกเกอร์ |
จุ่มลงในน้ำอุ่น ๆ ลอกเอาป้ายออกแล้วถูกาวออกด้วยเบนซิน ล้างออกด้วยสบู่และน้ำจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วยผ้านุ่ม ๆ
|
รอยน้ำ / มะนาว
|
จุ่มลงในน้ำส้มสายชูเจือจาง (25%) หรือกรดไนตริก (15%) ล้างให้สะอาด ล้างออกด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นล่างให้สะอาดด้วนน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วยผ้านุ่ม ๆ
|
คราบชา – กาแฟ
|
ล้างด้วยโซดาไบคาร์บอเนต ในน้ำ ล้างออกด้วยสบู่และน้ำ จากนั้นล้างให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น เช็คให้แห้งด้วยผ้านุ่ม ๆ
|
คราบสนิม
|
จุ่มในน้ำอุ่นที่มีส่สนผสมสารละลายกรดไนตริก ในอัตราส่วน 9 ต่อ 1 ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ล้างออกด้วยน้ำให้สะอาด หรือล้างผิวด้วยสารละลายกรดออกชาลิค ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็คให้แห้งหรือต้องใช้เครื่องมือล้างหากคราบสนิมติดแน่น
|
ความรู้และเทคนิค
ควรทำ
|
ไม่ควรทำ
|
เมื่อไม่ได้มีการทำความสะอาดสเตนเลส อย่างสม่ำเสมอ เมื่อสังเกตเห็นคราบหรือฝุ่นละอองใด ๆ ต้องรีบทำความสะอาดทันที
|
ไม่ควรเคลือบผิวสเตนเลสด้วยแว็ก หรือวัสดุที่ผสมน้ำมัน เพราะจะทำให้คราบสกปรกหรือฝุ่นละอองติดบนพื้นผิวได้ง่ายขึ้น และล้างทำความสะอาดออกได้ยาก
|
การทำความสะอาดสเตนเลส ควรเริ่มจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ที่อ่อนที่สุด โดยเริ่มใช้ในบริเวณเล็ก ๆ ก่อนเพื่อดูว่าเกิดผลกระทบอะไร กับผิวสเตนเลสหรือไม่
|
ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ที่มีส่วนประกอบของคลอไรด์และฮาไลด์ เช่น โบรไมน์, ไอโอดีนและผลูออรีน
|
ใช้น้ำอุ่นล้างคาบความมันออก
|
ไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อในการทำความสะอาดชิ้นส่วนสเตนเลส
|
หมั่นล้างสเตนเลสด้วนน้ำสะอาด เป็นขั้นตอนสุดท้ายเช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่ม หรือกระดาษชำระ
|
ไม่ควรใช้กรดไฮโดรคลอริก (HCI) ในการทำความสะอาด เพราะอาจก่อให้เกิดการกัดกร่อน แบบรูเข็ม และการแตกเนื่องจากความเครียด (Stress Corrosion Crocking)
|
เมื่อใช้กรดกัดทำความสะอาดสเตนเลส ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
|
ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เราไม่แน่ใจ
|
หลังจากใช้เครื่องครัวที่ทำด้วยสเตนเลส ควรล้างให้สะอาดทุกครั้ง
|
ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำความสะอาดเครื่องเงิน ในการทำความสะอาดสเตนเลส
|
หลีกเลี่ยงคราบ/สนิมเหล็ก ที่อาจติดมากับอุปกรณ์ทำความสะอาด ที่ทำมาจากเหล็ก หรือใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน
|
ไม่ควรใช้สบู่ หรือผงซักฟอกมากเกินไป เพราะจะทำให้ผิวสเตนเลสมัวและหมองลง
|
ในกรณีที่ประสบปัญหาในการทำความสะอาด
สเตนเลสควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ |
ไม่ควรทำความสะอาด และทำพาสซิเวชั่นในขั้นตอนเดียวกัน ควรทำตามขั้นตอน คือ ล้างก่อนแล้วค่อยทำพาสซิเวชั่น
|
เอกสตีล คลอง 8
สแตนเลส 304 และ 316 ทนสารละลายอะไรได้บ้าง
ผมมีสแตนเลส 430 เคลือบทองแดง เป็นท่อไว้ทำเกี่ยวกับความเย็นของใหม่
อยากทราบราคาที่ผู้รับซื้อทำได้ครับ
085-8088806
อยากทราบเพลาสแตเลส SUS310 และ SUS316L ต่างกันอย่างไร
และพวก Flat bar ss316 ด้วยครับ ขอบคุณครับ
arthit@fosterepc.com
084-5324440
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
เหล็ก กับ สแตนเลส อะไรนำไฟฟ้าได้ดีกว่ากัน ครับบ
ต้องการหา สแตนเสลแผ่น ความหนา 0.5 - 1 mm อยากได้คุณสมบัติที่ แบบมีสปริง คืนตัวได้ โดนความร้อนแล้วไม่งอ
ติดต่อกลับด่วน 086-3163567 ธนศักดิ์
อยากทราบอุณหภูมิที่ใช้ในการอบชิ้นงานสำหรับเหล็ก SUS304 และเวลาที่ใช้ในการอบชิ้นงานสำหรับเหล็ก SUS304
วัตถุประสงค์คือต้องการอบให้ชิ้นงานแห้งอย่างเดียว ซึ่งจะต้องทำการทดลองอย่างไรบ้างเนื่องจากมีตู้อบเพียงตู้เดียว และที่นี้ไม่มีห้อง Lab ในการทดสอบ
อยากทราบอุณหภูมิที่ใช้ในการอบชิ้นงานสำหรับเหล็ก SUS304 และเวลาที่ใช้ในการอบชิ้นงานสำหรับเหล็ก SUS304
วัตถุประสงค์คือต้องการอบให้ชิ้นงานแห้งอย่างเดียว ซึ่งจะต้องทำการทดลองอย่างไรบ้างเนื่องจากมีตู้อบเพียงตู้เดียว และที่นี้ไม่มีห้อง Lab ในการทดสอบ
แบ่งปันความรู้ครับ
สแตนเลสที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันในบ้านเรามีด้วยกันหลายเกรด ทั้งเกรด 200,300 และ 400 ซึ่งแต่ละเกรดก็จะถูกแบ่งย่อยออกไปอีกแต่ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเกรด 201,202,301,302,303,304,304L,310,314,316,316L และเกรด 400 ทั่วไป ซึ่งราคาซื้อขายจะแตกต่างกันเป็นอย่างมากทั้งในแง่ใช้งานในอุตสาหกรรม หรือซื้อขายเป็นเศษวัสดุรีไซเคิลการที่จะจำแนกว่าเป็นเกรด 400 สามารถทำได้โดยใช้แม่เหล็กดูด ถ้าดูดติดแสดงว่าเป็นเกรด 400 แต่สแตนเลสเกรด 200 และ 300 นั้นไม่สามารถจำแนกได้โดยการใช้แม่เหล็ก เพราะทั้ง 2 เกรด แม่เหล็กดูดไม่ติดทั้งคู่ ( เกรด 300 บางตัวแม่เหล็กจะดูดติดอ่อนๆ ถ้าผ่านการขั้นรูปหรือรีดเย็นมา )
ในปัจจุบันสแตนเลสปลอมมีการขายและระบาดเยอะมากในวงการอุตสาหกรรม ทั้งที่ตอนรับสินค้ามาก็มีใบ Certificate แสดงเกรดและส่วนผสมทางเคมีแนบมา แต่ก็เชื่อถือไม่ได้ ( ผมเจอมากับตัวเอง ) เช่น สั่งซื้อเกรด 304 แต่ทดสอบแล้วเป็นเกรด 200 , สั่งซื้อเกรด 316 แต่ทดสอบแล้วเป็นเกรด 304 ไปซะงั้น ที่ผ่านมาผมเคยซื้อน้ำยาทดสอบแบบอีเลคโตรเคมีคอล คือใช้น้ำยาหยดคู่กับการใช้ถ่านแบตเตอรี่ 9 โวลด์มาใช้ เเต่การทดสอบก็มีข้อเสียคือ สามารถตรวจจับได้เฉพาะธาตุโมลิบดีนั่มที่ผสมอยู่ในเกรด 316 และให้ผลแค่เพียงว่าเป็นเกรด 316 หรือไม่เท่านั้น แต่ไม่สามารถฟันธงและระบุได้ว่าจะเป็นเกรด 304 ในกรณีที่ผลทดสอบออกมาไม่ใช่ 316 ทั้งนี้อาจจะเป็นเกรด 300 อื่น หรือ เกรด 200 ก็ได้
ปัจจุบันนี้บริษัทฯผมใช้น้ำยาตรวจสอบสแตนเลสโดยเฉพาะ ที่สามารถให้ผลตรวจสอบได้ชัดเจน 100% ว่า วัตถุดินนั้นเป็นเกรด 316 หรือเป็นเกรด 304 และยังใช้น้ำยาที่สามารถคัดแยกสแตนเลสเกรด 200 ออกจากเกรด 300 ได้อย่างถูกต้องแน่นอน ซึ่งน้ำยาเหล่านี้สามารถทดสอบได้ด้วยตนเองทุกสถานที่ เป็นวิธีการที่เป็นสากลไม่ยุ่งยาก ให้ผลการทดสอบไม่เกิน 5 นาที ผมจำราคาไม่ได้แต่ถือว่าถูกและคุ้มค่าครับ
อาจจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ใช้งานสแตนเลส หรือผู้ที่ค้าขายเศษสแตนเลสบ้างนะครับ
Metallurgist : Tel.081-8192053
จำหน่ายน้ำยาตรวจสอบเกรดสแตนเลสเกรด 316, 316L, 310, 304, 304L 201,202,205
· เป็นน้ำยาหยดทดสอบสแตนเลสเฉพาะเกรดที่ได้รับการยอมรับเเละมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเพื่อการตรวจรับวัตถุดิบ,อุตสาหกรรมการคัดเเยกเศษวัสดุเพื่ิอรีไซเคิล,การคัดแยกเพื่อเพิ่มมูลค่าเศษในธุรกิจซื้อขายของเก่าในต่างประเทศ
· อาศัยหลักการทำปฏิกริยาเคมีของตัวน้ำยากับธาตุผสมที่แตกต่างกันของสแตนเลสแต่ละ
เกรดโดยน้ำยาจะเปลี่ยนสีออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ให้ผลการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ 100% โดยน้ำยาแต่ละเกรดผ่านการทดสอบและพิสูจน์กับแผ่นสแตนเลสจริงทุกเกรดแล้ว ก่อนบรรจุจำหน่าย
· สะดวก รวดเร็ว พกพาไปทดสอบได้ด้วยตนเองในทุกสถานที่ตามหน้างานหรือไซค์งาน สามารถใช้ทดสอบได้หลายครั้ง คุ้มค่า ราคาถูกกว่าต่างประเทศหลายเท่าตัว
ตัวสินค้าที่จำหน่าย
น้ำยา SS # 23 : ใช้สำหรับคัดแยกสแตนเลสในตระกูล 200 ซีรีย์ ออกจากตระกูล 300 ซีรีย์ โดยการตรวจจับธาตุเเมงกานีส (Mn) ปริมาณสูงที่ผสมอยู่ในสเเตนเลสตระกูล 200 ซีรีย์ ซึ่งน้ำยาจะแสดงผลลัพธ์เป็นสีชมพูเข้มให้เห็น
หมายเหตุ: สแตนเลสในตระกูล 200 ซีรีย์ เช่น 201,202 หรือ 205 เป็นสแตนเลสที่มีคุณภาพต่ำกว่าสแตนเลสในตระกูล 300ซีรีย์มากและไม่สามารถคัดแยกออกจากกันได้ด้วยการใช้แม่เหล็กดูด
น้ำยา SS # 310 : ใช้สำหรับตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าเป็นสแตนเลสเกรด 310 หรือ 304 ( ในกรณีที่ผลการตรวจสอบก่อนหน้าออกมาว่าไม่ใช่เกรด 316 )โดยน้ำยาจะทำปฏิกริยากับธาตุผสมโครเมี่ยม (Cr) เเละนิเกิล (Ni) ที่ผสมอยู่ในสเเตนเลสเกรด 310 เเละ 304 ซึ่งมีปริมาณที่เเตกต่างกัน ถ้าสแตนเลสชิ้นนั้นเป็นเกรด 310 น้ำยาจะแสดงผลลัพธ์เป็นสีเขียวเข้มให้เห็น แต่ถ้าสแตนเลสชิ้นนั้นเป็นเกรด 304น้ำยาจะแสดงผลลัพธ์เป็นสีเหลืองปนน้ำตาลให้เห็น
น้ำยาทุกเกรดบรรจุอยู่ในซองแยกชุด พกพาสะดวก จำหน่ายพร้อมวิธีการทดสอบและรูปภาพตัวอย่างผลการทดสอบชิ้นงานจริง
ท่านสามารถสั่งซื้อได้ในแบบแยกชุดหรือทุกชุดในราคามิตรภาพและเป็นกันเอง
สนใจน้ำยาติดต่อสอบถามได้ที่ :
Tel. 081-8192053
Email : stainless.lab@gmail.com