การคิดงานเหล็ก

การคิดงานเหล็ก

 

การคิดงานเหล็ก

งานเหล็กเสริมคอนกรีต

การหาปริมาณเหล็กเสริมคอนกรีตที่ใช้ตามที่กำหนดในแบบและรายการก่อสร้าง ต้องพิจารณาแยกเป็นชนิด (เหล็กกลม SR24 เหล็กข้ออ้อย SD30  SD40) ขนาด และความยาว แล้วคิดเทียบเป็นน้ำหนัก (ปกติเหล็กหนัก 7.8 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) หน่วยเป็นกิโลกรัมหรือตัน โดยปกติในการหาความยาวของเหล็กเสริมที่ใช้ จะถือเอาความยาวของชิ้นส่วนในแนวเส้นตรงเป็นหลักก่อนโดยไม่หักผิวของคอนกรีตหุ้ม แล้วจึงคิดเผื่อความยาว (ตามขนาดของเหล็ก) ที่ต้องต่อทาบกัน หรือการงอขอที่ปลายและการดัดทำคอม้อหรือตัดแล้วเหลือเศษสั้นใช้งานไม่ได้ ส่วนปริมาณของลวดผูกเหล็กที่ต้องใช้ก็เทียบกับปริมาณของเหล็กเสริมคอนกรีต  ซึ่งปกติประมาณ 15 16 กิโลกรัมต่อเหล็กเสริมหนึ่งตัน สำหรับค่าแรงในการดัดเหล็กและผูกเหล็กก็คิดต่อหนึ่งตันของเหล็กที่ต้องใช้ หากงานก่อสร้างอยู่ในที่สูงค่าแรงจะแพงกว่าธรรมดา เพราะต้องเสียค่าแรงในการส่งเหล็กขึ้นไป  หรือหากมีแต่เหล็กขนาดเล็กอย่างเดียว ค่าแรงก็จะสูงขึ้นอีก

 

เกณฑ์การประมาณปริมาณเหล็กเสริมคอนกรีต

·  เหล็กตะแกรงของฐานราก คิดความยาวของเหล็ก  =  ความกว้างและความหนาของฐานราก

·  เหล็กยืนของเสาตอม่อ  ปลายเหล็กยืนส่วนที่ดัดงอเป็นมุมฉาก (เพื่อยึดกับเหล็กตะแกรงของ 

     ฐานราก) ให้คิดความยาว  =  หนึ่งในสี่ของความกว้างของฐานราก

·  เหล็กยืนของเสา  คิดความยาวของเหล็กยืน  =  ความยาวของเสา

                                   ความยาวของเหล็กปลอก 1 ปลอก  =  ความยาวของเส้นรอบรูปเสา

·  เหล็กนอนของคาน  (ทั้งเหล็กตรง  และเหล็กคอม้า) คิดความยาวเหล็ก  =  ความยาวของคาน

     จากศูนย์กลางเสาถึงศูนย์กลางเสา             

                                    ความยาวของเหล็กปลอก 1 ปลอก  =  ความยาวของเส้นรอบรูปคาน

·  เหล็กตะแกรงของพื้น (ทั้งเหล็กตรง และเหล็กคอม้า) คิดความยาวเหล็ก  =  ความกว้าง

     ของพื้น

·  เหล็กนอนของบันได คิดความยาวเหล็ก  =  ความกว้างของบันได

                                     ความยาวของเหล็กลูกโซ่  =  ความกว้างของลูกนอน + ความสูงของลูกตั้ง

·  เหล็กนอนของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง คิดความยา  =  ความยาวของเอ็นยึดผนังและ

     บัวใต้หน้าต่าง

                                      ความยาวของเหล็กลูกโซ่  =  ความกว้างของเอ็นยึดผนังและบัวใต้หน้าต่าง

·  เหล็กเสริมของส่วนโครงสร้างอื่น ๆ หากคล้ายคลึงกับส่วนใดที่กล่าวข้างต้น ให้คิดเหมือน 

     ส่วนนั้น

หากไม่คล้ายคลึงเลย ให้พิจารณาตามเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น

·  การเผื่อเหล็กเสริมคอนกรีต (ทั้งเหล็กกลม และเหล็กข้ออ้อย) ให้คิดเผื่อตามขนาดเส้นผ่าศูนย์

     กลางของเหล็กเสริม ดังนี้

 

ขนาด, มม.

6

9

10

12

15

16

19

20

25

28

เผื่อ, %

5

7

8

9

11

12

13

13

15

15

 

งานเหล็กรูปพรรณ

การหาปริมาณเหล็กรูปพรรณที่ใช้ทำส่วนประกอบของโครงสร้างซึ่ง ได้แก่ เสา  คาน  พื้น  หรือส่วนต่าง ๆ ของโครงหลังคา จะต้องแยกออกตามประเภท ขนาดหน้าตัดและความยาวเป็นท่อน (ท่อนหนึ่งยาว 6 เมตร) แล้วคิดเทียบเป็นน้ำหนัก มีหน่วยเป็นกิโลกรัม นอกจากนี้ต้องหาปริมาณอุปกรณ์ที่ใช้ยึดหรือทำรอยต่อ เช่น แผ่นเหล็กปะกับ น๊อต  หมุดย้ำ  สำหรับโครงเหล็กที่ใช้เชื่อมด้วยลวดเชื่อม ไม่ต้องคิดวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อม เพราะจะคิดรวมในค่าแรงงาน การประมาณค่าแรงงานอาจคิดเป็นเปอร์เซนต์ของราคาวัสดุที่คำนวณได้ (ประมาณ 30 50 %)

 

ตัวอย่างการหาปริมาณเหล็กเสริมในคาน

สมมุติว่าต้องการหาปริมาณเหล็กเสริมคอนกรีตในคาน คสล. ขนาด 0.20 x 0.40. ความยาวคานจากศูนย์เสาถึงศูนย์เสาเท่ากับ 4.50. ดังแสดงในรูปที่ 5.4

ปริมาณเหล็กเสริมที่ใช้สามารถหาได้สองแบบคือ แบบละเอียด และแบบหยาบ ดังต่อไปนี้

 

 

                           

 

 

 

 

การประมาณอย่างละเอียด

ต้องหาความยาวของเหล็กเสริมทีละเส้นโดยพิจารณาว่าคานยาวเท่าไร ต้องเผื่อระยะสำหรับงอขอเท่าไร เผื่อความยาวของคอม้าเท่าไร และระยะต่อเท่าไร จึงจะได้ความยาวของเหล็กแต่ละเส้นที่ต้องการ

 

                            

 

 

 

 

เหล็กบนและเหล็กล่าง  :

ต้องการเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. ยาวเท่ากับ 4.50 (ระยะศูนย์เสา) + 0.15 (ความกว้างเสาเมื่อหักระยะคอนกรีตหุ้มทั้งสองปลาย) + 0.35 (ระยะเผื่องอปลายทั้งสองข้าง)  =  5.00. จำนวน 4 ท่อน

เหล็กคอม้า  :

ต้องการเหล็กเสริมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 มม. ยาว 2.50 (ระยะ 4.50 0.20 1.80) + 2 [0.50 (ระยะคอม้า)] + 2 [0.55 (ระยะ 0.90 0.35)] + 2 [0.05 (จากศูนย์เสาถึงขอบเสา)] + 2 [0.02 (ระยะเผื่องอปลาย)]  =  5.10  . จำนวน 1 ท่อน

เหล็กปลอก  :

ต้องการเหล็กปลอกขนาด 6 มม. จำนวน 23 ท่อน ยาวท่อนละ 2 (0.36 + 0.16 + 0.08)  =  1.20. ถ้าเหล็ก 1 เส้น ยาว 10.0. จะตัดได้    =  8  ท่อน   ดังนั้นต้องการเหล็กปลอก 6 มม. จำนวน   = 2.87 เส้น คิด 3 เส้น   สรุป       ใช้เหล็กเสริมขนาด  12 มม. X 10.00.  =  2      เส้น

                เหล็กเสริมขนาด       15 มม. X 10.00.  =  0.51  เส้น 

                                                เหล็กเสริมขนาด        6 มม. X 10.00.  =  3       เส้น   

 

 

                                      

 

 

 

การประมาณอย่างหยาบ (คิดตามเกณฑ์ข้างต้น)

ความยาวของเหล็กเสริมที่ต้องใช้ คิดตามความยาวของชิ้นส่วนในแนวเส้นตรงเป็นหลัก โดยไม่หักผิวของคอนกรีตหุ้ม แล้วจึงเผื่อความยาวตามเกณฑ์

 

เหล็กบนและเหล็กล่าง  :

ต้องการเหล็กขนาด  12  มม. ยาวเท่ากับ 4 x 4.50          =    18                                     เมตร

                                                      เผื่อ 9 %                           =      1.65                               เมตร

                                                      รวม                                   =    18 + 1.65  =  19.65       เมตร

                                                      ดังนั้นต้องการ                =      2  เส้น

เหล็กคอม้า  :

ต้องการเหล็กขนาด 15 มม. ยาวเท่ากับ  1 x 4.50           =  4.50   เมตร      

                                                    เผื่อ 11 %                           =  0.50   เมตร

                                รวม  =  4.50 + 0.50  =  5.00  เมตร  ดังนั้นต้องการ  =  0.5  เส้น                                 เหล็กปลอก  :

ต้องการเหล็กขนาด 6 มม. จำนวน  23  ท่อน

                                                   ยาวท่อนละ  =  2 (0.20 + 0.40)  =  1.20  เมตร

                                                    เผื่อ 5 %      =  0.06  เมตร

                                รวม  =  1.26  เมตร  ต่อหนึ่งท่อน  ดังนั้นต้องการ  =     =  3  เส้น

 

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าการคิดอย่างละเอียดและการคิดอย่างหยาบ ให้ผลใกล้เคียงกัน แต่การคิดอย่างละเอียดทำให้เสียเวลามาก แต่เป็นวิธีที่เหมาะและนิยมใช้ในการจัดหาปริมาณวัสดุสำหรับการทำการก่อสร้างจริง  ดังนั้นในการหาปริมาณเหล็กเสริมคอนกรีตจึงนิยมคิดแบบหยาบ เพราะรวดเร็วกว่า

หากต้องการทราบราคาค่าวัสดุและค่าแรงงานสำหรับเหล็กเสริมคอนกรีตขนาดต่าง ๆ แต่ละเส้น (ยาวเส้นละ 10 เมตร) อาจทำได้  ดังนี้ ถ้ากำหนดราคาเหล็กเส้น (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

ขนาด       6  มม.      =   11.0  บาท/กก.              ขนาด    9  มม.                       =   9.90 บาท/กก.

ขนาด     12  มม.      =   9.80  บาท/กก.              ขนาด  15 25 มม.              =   9.55  บาท/กก.

ลวดผูกเหล็ก (ใช้ 16 กก. ต่อเหล็กเสริมหนึ่งตัน)  =  16  บาท/กก.

ดังนั้นลวดผูกเหล็ก  =      =  0.256  บาท/เหล็กเสริมหนึ่ง กก.

เมื่อสมมุติค่าแรงในการผูกเหล็กและดัดเหล็กหนึ่งตันเท่ากับ 2000 บาท หรือ 2 บาท/กก. ก็จะหาราคารวมค่าแรงและค่าวัสดุสำหรับเหล็กเสริมคอนกรีตแต่ละเส้น ได้ดังนี้

 

ขนาดเหล็กเสริม

../เส้น

ราคาเหล็ก/กก.

ค่าเหล็ก

ค่าลวดผูกเหล็ก

ค่าแรง

รวม

RB    6  มม.

2.22

11.0

24.42

0.57

4.44

29.43

RB    9  มม.

4.99

9.90

49.40

1.28

9.98

60.66

RB  12  มม.

8.88

9.80

87.02

2.27

17.76

107.05

RB  15  มม.

13.9

9.55

132.74

3.56

27.80

164.10

RB  19  มม.

22.3

9.55

212.96

5.71

44.60

263.27

RB  25  มม.

38.5

9.55

367.67

9.86

77.00

454.53

 
โดย เอกสตีล คลอง 8 จำหน่ายเหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส มุมหาช่าง

ความคิดเห็น

  1. 21
    02/12/2012 11:21

     ขอบคุณมากๆค่ะ พอดีต้องการหาข้อมูลด้านนี้กับงานใหม่ที่จะเริ่มทำพรุ่งนี้ค่ะ

  2. 22
    15/12/2012 13:17

  3. 23
    22/01/2021 09:40

    ว้าวๆๆ 

[Back]   1 2

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view