เหล็กเส้นของท่านได้มาตรฐานหรือไม่ ?
Mr.Steel (Member) |
เหล็กเส้น คนทั่วไปคงรู้จักกันอยู่แล้วนะครับว่าหน้าตามันเป็นอย่างไง แต่ที่ผมจะพูดถึงคือแล้วท่านจะรู้ได้อย่างไงว่าที่ผู้รับเหมาเอามาใช้สร้าง บ้านให้เราๆท่านๆอยู่นั้นได้มาตรฐานหรือเปล่า แล้วไอ้ที่พูดกันปาวๆว่าเหล็กเต็มกับเหล็กไม่เต็มมันเป็นอย่างไง ผมจะพูดถึงในแบบกว้างๆนะครับไม่ได้ลงลึกแบบด้านเทคนิคเพราะผมก็ไม่ใช้วิศวกร ครับ ว่ากันหลักง่ายๆที่ทุกคนสามารถตรวจสอบเองได้
เหล็กเต็มในภาษาของ ช่างทั่วไปหรือร้านค้าหมายถึงเหล็กที่ผลิตได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งตอนนี้มาตรฐานของเหล็กเส้นบ้านเราตอนนี้ถ้าเป็นเหล็กเส้นกลมใช้ มอก. 20-2543 ถ้าเป็นเหล็กเส้นข้ออ้อยใช้ มอก. 24-2548 ส่วนมาตรฐานเหล็กรีดซ้ำ มอก. 211-2527 เค้ายกเลิกไปแล้ว ส่วนเหล็กไม่เต็มมันก็คือเหล็กที่ผลิต ไม่ได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายนะครับ ในกรณีนี้ถึงแม้ว่าเค้าจะผลิตตามมาตรฐานเหล็กรีดซ้ำก็ยังถือว่าผิดอยู่ดี เพราะมันถูกยกเลิกไปแล้วนะครับ คราวนี้เรามาดูกันว่าข้อสังเกตุว่าเหล็กที่ใช้สร้างบ้านของท่านได้มาตรฐานหรือเปล่า อย่างแรก ยี่ห้อ ครับ อันนี้ผมบอกแบบกำปั่นทุบดินง่ายๆเลยครับยี่ห้อ ก็เพราะเค้าไม่ปลอมกันมันใจได้ครับ แล้วก็ก่อนทีโรงงานพวกนี้จะผลิตได้เค้าจะต้องมีขั้นตอนในการขออนุญาติกัน ก่อน รวมถึงการขอให้ตราหรือยี่ห้อด้วย เพราะฉะนั้นจะซ้ำหรือลอกเลียนแบบกันไม่ได้ครับ โรงงานที่ผลิตก็จะเป็นตรา BSBM, BSI, NTS, TIPCO, BISW, GS, NOVA, SSS, NHS, UMC, KSTI, TSP, BNS, BRP, MILL, บลส, บกส น่าจะเท่านี้นะครับถ้าจำได้จะมาเพิ่มเติมให้ เราสามารถดูได้ที่เนื้อเหล็กเส้นเลยครับหาดูเพราะจะต้องมีตลอดทั้งเส้น ถ้าเจอยี่ห้อแปลกๆนอกจากนี้ถือว่าเป็นเหล็กไม่ได้มาตรฐานครับ อย่างที่สอง ลองชั่งน้ำหนักดูครับ เหล็กกลมเกรด SR24 ขนาดที่ใช้บ่อยๆนะครับ 6มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 0.222 ต่ำสุด 0.200 สูงสุด 0.244 9มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 0.499 ต่ำสุด 0.469 สูงสุด 0.529 12มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 0.888 ต่ำสุด 0.835 สูงสุด 0.941 15มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 1.387 ต่ำสุด 1.304 สูงสุด 1.470 19มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 2.226 ต่ำสุด 2.092 สูงสุด 2.360 25มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 3.853 ต่ำสุด 3.622 สูงสุด 4.084 เหล็กเส้นข้ออ้อย เกรด SD30, 40, 50 10มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 0.616 ต่ำสุด 0.579 สูงสุด 0.653 12มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 0.888 ต่ำสุด 0.835 สูงสุด 0.941 16มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 1.578 ต่ำสุด 1.483 สูงสุด 1.673 20มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 2.466 ต่ำสุด 2.343 สูงสุด 2.589 25มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 3.853 ต่ำสุด 3.660 สูงสุด 4.046 28มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 4.834 ต่ำสุด 4.592 สูงสุด 5.076 32มม. น้ำหนักต่อเมตร(กก.) 6.313 ต่ำสุด 6.060 สูงสุด 6.566 อัน นี้เป็นการดูแบบหยาบๆส่วนมากจะใช้ได้กับเหล็กเกรด SR24 กับ SD30 เนื่องจากเป็นเหล็กคุณภาพไม่สูงมาก ในกรณีที่น้ำหนักเบากว่ามาตรฐานเหล็กอันนี้แหละที่เค้าเรียกกันว่าเหล็กไม่ เต็ม สมัยก่อนมันยังมีเหล็กไม่เต็มแต่มีมาตรฐานอยู่อันนี้เค้าเรียกตามมาตรฐานว่า เหล็กรีดซ้ำ ซึ่งสมัยปัจจุบันเค้าได้ยกเลิกไปแล้ว เพราะฉะนั้นใครมาบอกว่าเป็นเหล็กไม่เต็มแบบมีมาตรฐาน หรือแบบมี มอก. อย่าไปเชื่อครับมันมั่วแล้ว แล้วเดี๋ยวนี้เหล็กไม่เต็มมันมีตั้งแต่เบา 10 – 40% คิดแล้วน่ากลัวจริงๆ อย่างสุดท้าย ตัดเหล็กไป ทดสอบเลยครับ ตัดความยาวสักประมาณ 1 เมตร แล้วเอาไปทดสอบที่สถาบันต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยบางมด พระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเกษตร จุฬาฯ สถาบันเอไอที ธรรมศาสตร์รังสิต ราคาทดสอบก็ขึ้นอยู่กับขนาดของเหล็กเส้นครับ ขนาดเล็กก็ถูกหน่อย ขนาดใหญ่ก็แพงหน่อย เท่าที่ผมจำได้ขนาดเล็กสุด 6มม. น่าจะอยู่ที่ร้อยห้าสิบบาทต่อเส้น ราคานี้แต่ละที่ก็ไม่เท่ากันนะครับ ระยะเวลาทดสอบก็ประมาณ 3 – 7 วัน เมื่อได้ผลทดสอบมาเราก็มาดูผลทดสอบกัน ค่าการทดสอบที่สำคัญๆมีอยู่สามตัวครับ ผมแบ่งไว้ตามเกรดหรือเค้าเรียกตามภาษาทางการว่าชั้นคุณภาพไว้ 4 ประเภทตามมาตรฐานนะครับ เหล็กเส้นเกรด SR24 ความต้านแรงดึงที่จุดคราก Yield strength เท่ากับ 2400 ความต้านแรงดึง Tensile or Ultimate strength เท่ากับ 3900 ความยืด Elongation 21% เหล็กเส้นเกรด SD30 ความต้านแรงดึงที่จุดคราก Yield strength เท่ากับ 3000 ความต้านแรงดึง Tensile or Ultimate strength เท่ากับ 4900 ความยืด Elongation 17% เหล็กเส้นเกรด SD40 ความต้านแรงดึงที่จุดคราก Yield strength เท่ากับ 4000 ความต้านแรงดึง Tensile or Ultimate strength เท่ากับ 5700 ความยืด Elongation 15% เหล็กเส้นเกรด SD50 ความต้านแรงดึงที่จุดคราก Yield strength เท่ากับ 5000 ความต้านแรงดึง Tensile or Ultimate strength เท่ากับ 6300 ความยืด Elongation 13% ตอน ดูผลทดสอบก็หาสามตัวนี้เป็นหลักครับถ้าผลที่ได้มากกว่าก็ถือว่าผ่าน ถ้าได้น้อยกว่าก็ถือว่าตก คราวนี้ก็ต้องมาคุยกับผู้รับเหมาอีกทีว่าจะเอาอย่างไง จะต้องเสริมเหล็กหรือจะต้องเปลี่ยนเหล็กก็ว่ากันครับ ขอขอบคุณ คุณหมูขึ้นเขียง จาก blonggang.com ครับ |
คนขายวัสดุ |
ใจนะจ้า
|
เบน |
เหล็กเส้นแบบบางๆ เลยเห็นเอาไปดัดทำพวงองุ่นกัน |
Mr.Steel (Member) |
|
Mr.Steel (Member) |
Page : 1
แสดงความคิดเห็น