การดำเนินคดีแพ่ง
ถ้าท่านประสงค์จะฟ้องคดีแพ่งท่านจะต้องฟ้องคดีต่อศาลครับ ศาลที่ท่านจะฟ้องได้ ก็คือศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลหรือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลครับ คือถ้าท่านรู้ว่าผู้กระทำผิดเป็นใคร ท่านก็ฟ้องศาลที่ผู้กระทำผิดมีภูมิลำเนาอยู่ครับ ถ้าไม่รู้ว่าใครทำ แต่แน่ใจว่าตัวเองเป็นผู้เสียหาย ความเสียหายเกิดขึ้นที่ไหนก็ฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจในพื้นที่นั้นครับ ซึ่งในเรื่องเขตศาลนี้จริง ๆ ยังมีรายละเอียดมากมายครับ เช่น ในกทม. ก็มีหลายศาล แต่ละศาลก็รับผิดชอบพื้นที่เพียงไม่กี่เขตครับ รวมถึงถ้าเป็นคดีลิขสิทธิ์ก็ต้องฟ้องที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ไม่ใช่ศาลแพ่งธรรมดาครับ ในรายละเอียดถ้าท่านประสงค์จะฟ้องคดีคงต้องปรึกษาทนายความจะดีที่สุดครับ เพราะถ้าไปฟ้องผิดศาลศาลท่านก็จะไม่รับฟ้องแล้วต้องเสียเวลาไปฟ้องใหม่ยังศาลที่มีเขตอำนาจอีกครับ สำหรับกรณีที่ท่านเห็นว่าความเสียหายที่ท่านได้รับเป็นมูลค่าไม่เกิน 40,000 บาท ตามกฎหมายเขาเรียกว่า "คดีมโนสาเร่" ครับ ท่านฟ้องร้องจำเลยต่อศาลได้โดยไม่ต้องใช้ทนายความครับ แต่ถ้าจะฟ้องก็คงต้องปรึกษากับนิติกร (เจ้าหน้าที่กฎหมาย) ประจำศาลถึงประเด็นในเรื่องแต่อำนาจศาลครับ
การดำเนินคดีอาญา
ถ้าท่านประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลิขสิทธิ์ หมิ่นประมาทหรือเรื่องอื่น ๆ ท่านมีทางเลือก 2 ทางครับ คือแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ ฟ้องคดีเอง
1. แจ้งความ
การแจ้งความนี้ผู้เสียหายทำได้ทั้งในความผิดต่อส่วนตัวและความผิดอาญาแผ่นดินครับ ถ้าเป็นความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ เช่นเรื่องลิขสิทธิ์กับหมิ่นประมาทนั้น การไปแจ้งความเขาเรียกเป็นภาษากฎหมายว่า " ร้องทุกข์" ครับ แต่ถ้าเป็นความผิดอาญาแผ่นดินที่ยอมความไม่ได้ การที่ไปแจ้งความเขาจะเรียกว่า "กล่าวโทษ" ครับ การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษนี้ก็ต้องกระทำที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่ผู้กระทำผิดมีภูมิลำเนา (กรณีที่ท่านรู้หรือสงสัยว่าใครทำผิด) หรือในท้องที่ที่ความผิดเกิดครับ ถ้าเป็นความผิดอันยอมความได้ท่านต้องแจ้งความกับตำรวจภายใน 3 เดือน นับแต่รู้ถึงการกระทำผิดและรู้ตัวกระทำผิดครับ มิฉะนั้นตำรวจเขาจะไปเอาผิดกับผู้ทำผิดไม่ได้ ส่วนถ้าเป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดินก็มีอายุความนานกว่านั้นครับ ซึ่งจะสั้นยาวประการใดก็แตกต่างไปตามอัตราโทษครับ
เมื่อท่านไปแจ้งความกับตำรวจแล้ว ตำรวจก็จะทำการสืบสวนสอบสวนแล้วส่งสำนวนต่อให้อัยการครับ ถ้าอัยการเห็นมีพยานหลักฐานพอที่จะเอาผิดผู้กระทำผิดได้ก็จะสั่งฟ้อง ซึ่งอัยการจะทำหน้าที่เป็นโจทก็แทนท่านจนคดีเสร็จสิ้นครับ
2. ฟ้องคดีต่อศาล
กรณีที่จะฟ้องคดีต่อศาลได้โดยตรง ก็มีเฉพาะแต่ความผิดอันยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้นครับ ความผิดอาญาแผ่นดินท่านจะไปฟ้องคดีเองไม่ได้ต้องแจ้งความอย่างเดียวครับ ส่วนศาลที่จะฟ้องคดีได้หลักการก็เหมือนศาลในคดีแพ่งครับคือศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลหรือศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลเพียงแต่ศาลที่จะฟ้องในกรณีนี้ต้องเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาเท่านั้นครับ ในกรณีของการละเมิดลิขสิทธิ์น่ะไม่มีปัญหา เพราะศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาครับ
การฟ้องคดีต่อศาลโดยตรง ท่านก็ต้องฟ้องภายในอายุความ 3 เดือนนับแต่รู้ถึงการกระทำผิดและรู้ผู้กระทำผิดเช่นกันครับ เพราะในเรื่องความผิดต่อส่วนตัวนี้กฎหมายเขาถือว่ามีผลกระทบต่อส่วนรวมน้อยครับถ้าท่านปล่อยเวลาผ่านไปถึง 3 เดือนโดยไม่ทำอะไรกับผู้กระทำความผิดกฎหมายเขาก็เห็นว่าแสดงว่าท่านไม่ติดใจเอาความกับผู้กระทำผิดแล้วครับ
เป็นไงครับ ก็คงจะเป็นแนวทางให้ท่านผู้อ่านทราบเป็นเบื้องต้นนะครับว่าถ้าตกเป็นผู้เสียหายแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง ยังไงถ้าตกเป็นผู้เสียหายจริงๆ ก็ควรปรึกษากับนักกฎหมายหรือทนายความเพื่อความรอบคอบอีกครั้งหนึ่งก่อนตัดสินใจดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดนะครับ
โดย Lawyerthai.com
ส่วนศาลที่จะฟ้องคดีได้อาญาก็ไม่เหมือนเหมือนศาลในคดีแพ่งครับ ต้องศ่าลที่มูลคดีเกิด อ่านแล้วงงมากตอบได้ไง
ทนไม่ได้จริง.....ค่ะ เจอแบบนี้
ช่วยดูหน่อยนะค่ะ
ว่าผิดหรือป่าว
http://www.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FChakriTheObstruction%3Fref%3Dnf%23!%2FChakriTheObstruction%3Fv%3Dwall&h=70fd3